เกี่ยวกับเรา

ประวัติความเป็นมา สำนักอธิการบดี

        สำนักอธิการบดี เป็นหน่วยงานสนับสนุนงานบริหารของมหาวิทยาลัย เดิมเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับอธิการบดี  มีการแบ่งสายงานภายในออกเป็น 4  ฝ่าย ได้แก่  ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายวางแผนและพัฒนา ฝ่ายบัญชี และการเงิน และฝ่ายประชาสัมพันธ์ ต่อมามีการสร้างอาคาร ดร.เกริก (อาคาร 2) เพิ่มจากเดิมอีก  จำนวน 1  อาคาร  จึงได้แยกงานอาคารสถานที่และยานพาหนะ โดยจัดตั้งเป็น  “ฝ่าย”

        มหาวิทยาลัยเกริก ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานสายสนับสนุนของสำนักอธิการบดี เพื่อให้เกิดความคล่องตัว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จากเดิม สำนักอธิการบดี มีหน่วยงานจำนวน 5 ฝ่าย และได้มีการปรับปรุงโครงสร้างให้เหมาะสมต่อการบริหารงานมาโดยตลอด

        มหาวิทยาลัยเกริก ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน ให้มีความเหมาะสม คล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถรองรับการแข่งขันในสภาวการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกริก ในการประชุมครั้งที่ 2/2554  เมื่อวันที่ 22  มิถุนายน 2554  มีผลตั้งแต่ปีการศึกษา 2554
      เดือนธันวาคม 2555  มหาวิทยาลัยมีนโยบายปรับโครงสร้างองค์กรของสำนักอธิการบดีใหม่ โดยมีการปรับเปลี่ยนชื่อของฝ่ายงาน และรับโอนหน่วยงานเพิ่มอีก 1 ฝ่าย ได้แก่
        1. ฝ่ายบริหารทั่วไป (วันที่ 1 มิถุนายน 2554)  ส่งผลให้หน่วยงานภายใต้การบริหารงานของสำนัก เปลี่ยนชื่อเป็น  “ฝ่ายบริหาร”
        2. รับโอนฝ่ายสื่อสารการตลาด มาจากสำนักส่งเสริมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ โดยเปลี่ยนชื่อใหม่

ให้สอดคล้องกับภาระงานที่รับผิดชอบ เป็น “ฝ่ายสื่อสารองค์กรและศิษย์เก่าสัมพันธ์” สังกัดสำนักอธิการบดี
        ทั้งนี้  การปรับโครงสร้างดังกล่าวได้ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกริก เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 1/2556 วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2556 โดยมหาวิทยาลัยเกริก มีคำสั่งที่ 38/2556 เรื่อง โครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ.2556  ประกาศใช้ “โครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2556”  อย่างเป็นทางการ

        มหาวิทยาลัยเกริก ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานสายสนับสนุนของสำนักอธิการบดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ  โดยโครงสร้างที่ประกาศใช้ล่าสุด โดยปรับจากเดิมมีหน่วยงาน จำนวน 4 ฝ่าย ลดลงเหลือเพียง 3 ฝ่าย  ตาม “โครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2560” 

        เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561  ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกริก ครั้งที่ 1/2561 ได้มีมติอนุมัติการปรับโครงสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น  ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างครั้งนี้ หน่วยงานในสังกัดสำนักอธิการบดี ยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยโครงสร้างที่ประกาศใช้ คือ “โครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2561”  สำนักอธิการบดี บริหารงานภายใต้โครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2561  ขึ้นตรงกับรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ภายใต้การกำกับดูแลของผู้อำนวยการสำนักอธิการบดี  มีบุคลากรในสำนักอธิการบดี จำนวน 28 คน มีการแบ่งส่วนการบริหารงาน ในระดับฝ่ายออกเป็น 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบัญชี งบประมาณและการเงิน  ฝ่ายบริหาร และฝ่ายอาคารสถานที่
        ต่อมา ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สายการบริหารงานของสำนักอธิการบดี ต้องปรับโครงสร้างการบริหารงานตามไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ  สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน  โครงสร้างที่ประกาศใช้จึงเป็นไปตามมติสภามหาวิทยาลัยเกริก ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561  โดยเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 2  นั้น  หน่วยงานงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ฝ่ายบัญชี งบประมาณ และการเงิน  สังกัดสำนักอธิการบดี   ได้ถูกโอนย้ายออกไปเป็นหน่วยงานจัดตั้งใหม่  จึงส่งผลให้ปรับลดหน่วยงานระดับ “ฝ่าย” ลงจากเดิม จำนวน 3  ฝ่าย เหลือ 2 ฝ่าย ตาม “โครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2561 (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) ” รายละเอียดของโครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก  ปรากฏตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเกริก ที่ 252/2561 ฉบับลงวันที่  1 ตุลาคม  2561 

        มหาวิทยาลัยเกริก ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เหมาะสม และ   มีประสิทธิภาพ  สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน  ซึ่งในส่วนการบริหารงานของ สำนักอธิการบดี นั้น มีการปรับเพิ่มหน่วยงานระดับ “งาน” ขึ้นใน ฝ่าย จำนวน 2 ฝ่าย คือ 1) ฝ่ายอาคารสถานที่ และ 2) ฝ่ายบริหารทั่วไป  อันส่งผลดีต่อการบริหารจัดงานภายใต้ภารกิจงานที่ปฏิบัติอยู่ให้มีความสะดวก และรวดเร็วขึ้น  ซึ่งโครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก   ที่ประกาศใช้ล่าสุดนี้  เป็นไปตามมติสภามหาวิทยาลัยเกริก ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563  โดยการปรับปรุง เป็นไปตาม “โครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2563” รายละเอียดของโครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก  ปรากฏตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเกริก ที่ 184/2563 ฉบับลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2563       ต่อมา ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สายการบริหารงานของสำนักอธิการบดี ต้องปรับโครงสร้างการบริหารงานตามไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ  สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน  โครงสร้างที่ประกาศใช้จึงเป็นไปตามมติสภามหาวิทยาลัยเกริก ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561  โดยเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 2  นั้น  หน่วยงานงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ฝ่ายบัญชี งบประมาณ และการเงิน  สังกัดสำนักอธิการบดี   ได้ถูกโอนย้ายออกไปเป็นหน่วยงานจัดตั้งใหม่  จึงส่งผลให้ปรับลดหน่วยงานระดับ “ฝ่าย” ลงจากเดิม จำนวน 3  ฝ่าย เหลือ 2 ฝ่าย ตาม “โครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2561 (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) ” รายละเอียดของโครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก  ปรากฏตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเกริก ที่ 252/2561 ฉบับลงวันที่  1 ตุลาคม  2561 

        มหาวิทยาลัยเกริก ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานภายในเพื่อให้การปฏิบัติงานตามภารกิจตลอดจนการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและเหมาะสม สอดคล้องกับการบริหารงานภายในสำนักอธิการบดีในปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นไปตามมติสภามหาวิทยาลัยเกริก ในการประชุม ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 โอนย้ายหน่วยงานภายในสำนักอธิการบดี จากเดิม “แม่บ้านรักษาความสะอาด ฝ่ายอาคารสถานที่” ไปเป็น “งานแม่บ้านรักษาความสะอาด ฝ่ายบริหารทั่วไป”       ต่อมา ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สายการบริหารงานของสำนักอธิการบดี ต้องปรับโครงสร้างการบริหารงานตามไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ  สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน  โครงสร้างที่ประกาศใช้จึงเป็นไปตามมติสภามหาวิทยาลัยเกริก ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561  โดยเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 2  นั้น  หน่วยงานงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ฝ่ายบัญชี งบประมาณ และการเงิน  สังกัดสำนักอธิการบดี   ได้ถูกโอนย้ายออกไปเป็นหน่วยงานจัดตั้งใหม่  จึงส่งผลให้ปรับลดหน่วยงานระดับ “ฝ่าย” ลงจากเดิม จำนวน 3  ฝ่าย เหลือ 2 ฝ่าย ตาม “โครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2561 (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) ” รายละเอียดของโครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก  ปรากฏตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเกริก ที่ 252/2561 ฉบับลงวันที่  1 ตุลาคม  2561 

ปรัชญา ปณิธาน และวัตถุประสงค์

ปรัชญา
“วิชฺชา  จรณ  สมฺปนฺโน”
“ความรู้ทำให้องอาจ”

ปณิธาน
เป็นหน่วยงานที่ต้องให้บริการด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว  อย่างเป็นระบบ มีการพัฒนา ประสิทธิภาพของงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน โดยการพัฒนาคน พัฒนางานไปสู่มาตรฐานสากลด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย  โดยมีปณิธาน ดังนี้

“สร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้บริการด้วยความรวดเร็ว เต็มใจ และเสมอภาค”

วัตถุประสงค์
1. ให้บริการและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัย
2. ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัย
3. เพื่อพิทักษ์รักษาและคุ้มครองป้องกันทรัพย์สิน และบุคคลภายในมหาวิทยาลัย
4. เป็นผู้นำในการปฏิรูปองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
5. เพื่อพัฒนาระบบงานขององค์กรไปสู่มาตรฐานสากล
6. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นโยบาย

นโยบายการบริหารงานสำนักอธิการบดี

  1. สนับสนุนงานสำนักอธิการบดี และให้บริการทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย
  2. สนับสนุนแผนพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
  3. จัดระบบการบริหารงานภายในสำนักงาน  อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถเป็นเครื่องมือสนับสนุนการให้บริการแก่นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร เพื่อสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิผล
  4. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรภายใน  และภายนอกมหาวิทยาลัย
  5. ดูแลพัฒนาอาคารสถานที่สภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้ร่มรื่น สะอาด สวยงาม และปลอดภัย อันส่งเสริมให้การจัดกิจกรรม การเรียน การสอนมีบรรยากาศเหมาะสมกับการเรียนรู้
  6. พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
  7. ดูแลระบบสาธารณูปโภคภายในมหาวิทยาลัยให้อยู่ในสภาพดี และให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
  8. ให้การต้อนรับและรับรองคณะและบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยความประทับใจ

นโยบายการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสำนักอธิการบดี

  1. มีวินัยในการปฏิบัติหน้าที่
  2. ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล งานเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอน
  3. ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
  4. มุ่งมั่นและทุ่มเทในการปฏิบัติงาน รวดเร็วและทันเวลาที่กำหนด
  5. ให้บริการด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและทันสมัย
  6. รักษาความลับได้ดี
  7. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนางานและพัฒนาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  8. นำเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
  9. มีความโปร่งใส พร้อมที่จะให้ตรวจสอบ และประเมินผล

ภารกิจหลักของสำนักอธิการบดี

        สำนักอธิการบดี มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนงานบริหารของมหาวิทยาลัย มีการแบ่งสายงานการบังคับบัญชาในระดับ “ฝ่าย” ออกเป็น 3 ฝ่าย ประกอบด้วย 1) ฝ่ายเลขานุการผู้บริหาร 2) ฝ่ายบริหารทั่วไป และ ฝ่ายอาคารสถานที่ โดยอธิการบดี มอบอำนาจให้ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนในการบังคับบัญชา และกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานตามความเหมาะสม ตามโครงสร้างมหาวิทยาลัยเกริก ซึ่งมีรายละเอียดของภารกิจ ความรับผิดชอบ ตลอดจนหน้าที่หลักของฝ่ายต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงานดังต่อไปนี้

1. ฝ่ายเลขานุการผู้บริหาร
        ฝ่ายเลขานุการผู้บริหาร โดยมีเลขานุการอธิการบดี เลขานุการรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เลขานุการรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เลขานุการรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ เลขานุการรองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ โดยมีหน้าที่ในการดูแลประสานงานในภาพรวมทั้งหมดตามสายงานผู้บังคับบัญชาของผู้บริหาร เพื่อให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานของทุกภาพส่วน มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีภาระงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของงานเลขานุการผู้บริหาร ดังนี้

  1. กลั่นกรองหนังสือเข้า-หนังสือออก และเอกสารอื่น ๆ ก่อนนำเสนอผู้บริหารพิจารณา
  2. ร่างโต้ตอบหนังสือราชการ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
  3. ประสานงานกับบุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กรและภายนอก
  4. ติดตามผลการดำเนินการ ตามคำสั่งการของผู้บริหาร
  5. จัดวาระนัดหมายเข้าพบผู้บริหาร ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
  6. จัดทำเรื่องอนุมัติกรณีผู้บริหารเดินทางไปปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยในประเทศ/ต่างประเทศ
  7. ต้อนรับ และรับรองแขกของผู้บริหาร ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
  8. จัดหาของที่ระลึก สำหรับกิจกรรมและโอกาสต่าง ๆ และงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2.  ฝ่ายบริหารทั่วไป
        ที่ตั้งที่ทำการ : อาคารมังคละพฤกษ์  ชั้น 2 และ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น G
        ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ในการวางแผนงานและงบประมาณ การสั่งการและควบคุมประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารทั่วไป ดูแลรับผิดชอบอำนวยการและพัฒนาหน่วยงานในกำกับดูแลเพื่อรองรับการปฏิบัติของหน่วยงาน ทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
        ประกอบด้วยหน่วยงาน ระดับ “งาน” ภายใต้การกำกับดูแล  3 หน่วยงาน ดังนี้

  1. งานสารบรรณ 
    งานสารบรรณ มีหน้าที่รับ – ส่ง เอกสาร คัดกรองหนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก เพื่อนำเสนอผู้บริหารหรือหน่วยงาน ออกเลขหนังสือ จดหมาย คำสั่ง ประกาศ หนังสือรับรอง และอื่น ๆ การจัดเก็บเอกสารและการทำลายที่หมดอายุการใช้งาน จัดพิมพ์ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ  งานไปรษณีย์โดยให้บริการ รับ – ส่ง จดหมายและพัสดุให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ
  2. งานบริการจัดเลี้ยง ศูนย์อาหาร และรับรอง ประกอบด้วย

    1) งานบริการจัดเลี้ยง ศูนย์อาหาร และรับรอง  มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลศูนย์อาหาร การดูแลอุปกรณ์ และเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในการรับรองจัดเลี้ยง จัดระบบการให้บริการและดูแลการจัดเลี้ยง เมื่อมีการประชุมรับรองแขกสำคัญของมหาวิทยาลัย ให้บริการรับรองอาจารย์พิเศษ และนักศึกษาปริญญาโท รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยในการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้รับรอง และจัดเลี้ยง ตามภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ

    2) งานแม่บ้านรักษาความสะอาด มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับความสะอาดบริเวณภายในและโดยรอบมหาวิทยาลัย ห้องเรียน ห้องประชุม ห้องสำนักงาน ศูนย์อาหารและบริเวณพื้นที่สวนกลาง ให้มีความสะอาดอยู่เสมอและมีความพร้อมในการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ รวมถึงห้องประชุมให้มีความพร้อมในการต้อนรับและการประชุมตามภารกิจต่าง ๆ ที่เป็นบุคคลภายในและภายนอกเสมอ

3. ฝ่ายอาคารสถานที่
        ที่ตั้งที่ทำการ : อาคารเฉลิมพระเกียรติ  ชั้น G
        ฝ่ายอาคารสถานที่ เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานและประสานงานด้านการก่อสร้าง การซ่อมบำรุงรักษาอาคารและสถานที่  อำนวยความสะดวกด้านห้องเรียน และสื่ออุปกรณ์ในการเรียนการสอน การรักษาความปลอดภัย  การให้บริการด้านสาธารณูปโภค การอนุรักษ์พลังงาน การวางแผนภูมิทัศน์ และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบภายในมหาวิทยาลัยให้เหมาะสม  
       ซึ่งในปีการศึกษา 2563  จากที่มหาวิทยาลัย ได้ปรับโครงสร้างองค์กร  จึงได้แยกงานต่าง ๆ ของฝ่ายอาคารสถานที่ เพื่อความชัดเจนและง่ายต่อการบริหารจัดการ  โดยแยกเป็น 3 งาน ดังนี้
        1) งานอาคารสถานที่ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาคาร และสถานที่ ของมหาวิทยาลัย ดังนี้ อาคารมังคละพฤกษ์ (อาคาร 1) อาคาร ดร.เกริก (อาคาร 2) อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ (อาคาร 3) อาคาร 4 และอาคาร ดร.สุวรรณี (อาคาร 5) ดูแลรักษาความสะอาด การเคลื่อนย้ายเครื่องใช้สำนักงาน การจัดกิจกรรมและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของมหาวิทยาลัย จัดอุปกรณ์สำนักงานให้ดูสวยงามตามหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการ เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องปรับอากาศตามห้องเรียนและห้องสำนักงานกำกับดูแลบริษัทที่รับจ้างทำความสะอาดและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่กำหนดไว้ในสัญญาว่าจ้าง และงานต่อเติมอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ของตัวอาคารมหาวิทยาลัยทั้งหมด ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบโทรศัพท์ ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย สีอาคาร เครื่องใช้สำนักงานต่างๆ อุปกรณ์ครุภัณฑ์ สุขภัณฑ์และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอใช้ห้องเรียน ห้องประชุม ขอใช้อาคารและสถานที่
        2) งานยานพาหนะและรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ดังนี้ ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยทั้งหมด จัดสถานที่จอดรถให้มีความสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดให้บริการ ยานพาหนะ อันได้แก่ รถกระบะ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถตู้ และรถบัส แก่ผู้ขอใช้บริการ เพื่อไปในกิจการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
        3) งานโสตทัศนูปกรณ์ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบระบบสื่อการสอน ดูแลและรักษาอุปกรณ์ เช่น ไมโครโฟน เครื่องขยายเสียง  เครื่องผสมสัญญาณเสียง ลำโพง เครื่องโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดิโอ วีซีดี เครื่องเล่น MP-3 เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายแอลซีดี และการให้บริการอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์กับอาจารย์ผู้สอน และผู้ขอใช้บริการตามที่ร้องขอ เช่น การประชุม การอบรมสัมมนา และงานพิธีต่างๆ

โครงสร้าง

บุคลากร

  • รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร
  • ผู้อำนวยการสำนักอธิการบดี
  • งานเลขานุการผู้บริหาร

          – เลขานุการอธิการบดี

          – เลขานุการรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

          – เลขานุการรองอธิการบดีฝายวิชาการ

          – เลขานุการรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ

          – เลขานุการรองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ

  • ฝ่ายบริหารทั่วไป

          – หัวหน้างานสารบรรณ

          – หัวหน้างานจัดเลี้ยงศูนย์อาหารและรับรอง

          – หัวหน้าแม่บ้านรักษาความสะอาด

  • ฝ่ายอาคารสถานที่

          – หัวหน้างานอาคารสถานที่

          – หัวหน้างานยานพาหนะและรักษาความปลอดภัย

          – หัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์

Scroll to Top